วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทำเลที่ตั้งและขนาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตั้งอยู่ละติจูดที่ 10 องศาใต้ ถึงละติจูดที่ 28  องศาเหนือ และระหว่างลองติจูดที่ 92 - 140 ตะวันออก หรืออยู่ระหว่าง เอเชียตะวันออกกับเอเชียใต้ มีเนื้อที่ 4.5 ล้าน ตร.กม. มีประชากร 440  ล้านคน(พ.ศ.2533) ประกอบด้วยดินแดนที่เป็นคาบสมุทรอินโดจีน และหมู่เกาะ ในมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิค ประกอบด้วย 11 ประเทศคือ ไทย พม่า ลาว  กัมพูชา เวียตนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ติมอร์เลสเต และบรูไน
ลักษณะภูมิประเทศ
            เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีลักษณะเหมือนรูปพัด มีแนวเกาะรูปโค้งเป็นแนวล้อมโดยรอบ
พื้นที่แบ่งออกเป็นผืนแผ่นดินใหญ่หรือคาบสมุทร และส่วนที่เป็นหมู่เกาะ  ทางตอนเหนือของคาบสมุทรจะมีลักษณะ ภูเขาสูงที่ต่อเนื่องมาจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกถัดลงมาเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่เช่น ที่ราบลุ่ม
แม่น้ำเจ้าพระยา  แม่น้ำอิระวดีและแม่น้ำโขง ทางตอนใต้และตะวันออกเป็นหมู่เกาะภูเขาไฟที่ยังมีพลังอยู่และ
ที่ดับแล้ว มีที่ราบแต่ไม่กว้าง มีเกาะใหญ่ที่ สำคัญ ได้แก่ เกาะลูซอน เกาะมินดาเนา เกาะ  สุมาตรา เกาะชวา และ เกาะบอร์เนียว

ลักษณะภูมิอากาศ
         ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น มีฝนตกชุกและอุณหภูมิค่อนข้างสูง ฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัด บริเวณใกล้ศูนย์สูตร เช่น พม่า ลาว กัมพูชา เวียตนาม ฟิลิปปินส์ จะมีฤดูฝนสลับแล้งเพราะอิทธิพลของลมมรสุมภูมิอากาศของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะขึ้นอยู่กับลักษณะ 4 ประการ  คือ ทำเลที่ตั้ง  ทิศทางลมประจำที่พัดผ่าน ลักษณะภูมิประเทศ และความใกล้ไกลทะเล
ลักษณะพืชพรรณธรรมชาติ 
              ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีพื้นที่ป่าไม้ ประมาณร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบซึ่งไม้มีขนาดสูงไม่ผลัดใบขึ้นปะปนอย่างหนาแน่น ใบสีเขียวตลอดปี ด้านล่างมีเถาวัลย์เลื้อยเป็นอันมากเช่นป่าใน        
คาบสมุทรภาคใต้ของไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เกาะบอร์เนียว เป็นต้น ส่วนที่เป็นผืนแผ่นดินใหญ่ พืชพรรณ
ธรรมชาติเป็นป่าเบญจพรรณ
(ป่าผลัดใบในเขตร้อน) โดยพื้นที่บางบริเวณมีทุ่งหญ้าขึ้นแทรกปะปนอยู่ด้วย
ลักษณะสำคัญทางเศรษฐกิจ  

         ประชากรส่วนใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบอาชีพทาง เกษตรกรรมเพื่อยังชีพและเพื่อการค้า พืชที่ปลูกมากได้แก่ ข้าวเจ้า ข้าวโพด พืชรากหัว(มันเทศ เผือก     มันสำปะหลัง) พืชน้ำมัน(ถั่วเหลือง ถั่วลิสง งา
ละหุ่ง มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน
) พืชเส้นใย(ฝ้าย ปออบากา) พืชเครื่องดื่ม ผลไม้ ยาสูบ อ้อย ยางพารา อาชีพรองลงมาคือ การทำประมง เลี้ยงสัตว์ ส่วนการทำป่าไม้และ การทำเหมืองแร่มีความสำคัญน้อยลงในระยะหลัง
อุตสาหกรรมในภูมิภาคนี้ยังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร เนื่องจากขาดเงินทุนและเทคโนโลยี ยกเว้นสิงคโปร์ซึ่งเป็น
ประเทศอุตสาหกรรม การผลิตส่วนใหญ่ใช้ วัตถุดิบทางการเกษตร ผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศมีการส่งออกน้อย ส่วนสินค้าเข้าของภูมิภาคนี้ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เครื่องจักรกล   ยานพาหนะ เวชภัณฑ์ และเคมีภัณฑ์

ลักษณะประชากรและวัฒนธรรม

     ภูมิภาคนี้มีประชากรประมาณ 440 ล้านคน ส่วนใหญ่เชื้อชาติมองโกลอยด์ บริเวณที่มีประชากรหนาแน่นคือ
บริเวณลุ่มที่ราบแม่น้ำ และเกาะที่มีการทับถมของถ่านภูเขาไฟ ประชากร ส่วนใหญ่นับถือศาสนาและมีภาษาพูดที่
แตกต่างกันไป ศาสนาที่สำคัญคืออิสลาม พุทธ คริสต์ พราหมณ์-ฮินดู และลัทธิขงจื๊อ ใช้ภาษาอังกฤษและ จีนเป็นภาษากลาง มีการใช้ภาษาไทย มลายู ญวน เขมร  พม่า บ้าง การดำรงชีวิตคล้ายๆกันเพราะได้รับอิทธิพลอารยธรรม
จีนและอินเดียและมีอาชีพทางการ เกษตรกรรม  
      เชื่อกันว่าดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีมนุษย์อาศัยมาก่อนยุคประวัติศาสตร์  สิ่งที่ยืนยัน คือ การขุดค้นพบโครงกระดูกของมนุษย์มากกว่า 400,000  ปีที่เกาะชวาพร้อมเครื่องใช้มนุษย์  และพบในอีกหลายที่ มีการค้นพบวัฒนธรรมดองซอน  ค้นพบในประเทศ  เวียตนาม  ได้รับอิทธิพลจากจีน
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอาณาจักรโบราณที่สำคัญได้แก่   1  ดองซอน  2 ศรีวิชัย   3  ไศเลนทร์   
4 มัชปาหิต   5  ฟูนัน
ประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ตกเป็นอาณานิคมของชาวตะวันตก  คือ ประเทศ   ฟิลิปปินส์
ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศสเปน  ต่อมาตกเป็นเมืองขึ้นของสหรัฐอเมริกา
  เมืองขึ้นของเนเธอร์แลนด์ใน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้   คือ  อินโดนีเซีย
  เมืองขึ้นของอังกฤษในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  คือ   พม่า 
มาเลเซีย 
(รวม  สิงคโปร์  และ  บรูไน  ด้วย)
      เมืองขึ้นของฝรั่งเศสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   คือ  ลาว  กัมพูชา  เวียตนาม  (อินโดจีนฝรั่งเศส)
ประเทศที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของชาติตะวันตก คือ  ไทย

      อารยธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ได้รับอิทธิพลจาก     1   อินเดีย       2  จีน        3   อาหรับ
ประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ส่วนใหญ่เป็นชาติพันธุ์มองโกลลอยด์ 
ประชากรอยู่กันหนาแน่นบริเวณ ที่ราบลุ่มแม่น้ำ   เพราะมีความอุดมสมบูรณ์
ศาสนาสำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ได้แก่  ศาสนา   อิสลาม   พุทธ  พราหมณ์  คริสต์   
ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติของไทย  ลาว  พม่า  กัมพูชา  เวียตนาม  สิงคโปร์
ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำชาติของฟิลิปปินส์
ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติของมาเลเซีย  อินโดนีเซีย  และบรูไน
ประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ  สิงคโปร์
ประเทศ
เมืองหลวง
จำนวนประชากร(ล้านคน)
1. พม่า
ย่างกุ้ง
48.79
2. ลาว
เวียงจันทน์
6.36
3. ไทย
กรุงเทพฯ
63.38
4. กัมพูชา
พนมเปญ
14.13
5. เวียตนาม
ฮานอย
87.37
6.ฟิลิปปินส์
มะนิลา
88.70
7. มาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์
24.82
8. สิงคโปร์
สิงคโปร์
4.49
9. บรูไน
บันดาเสรีเบกาวาน
0.38
10. อินโดนีเซีย
จาการ์ต้า
231.62
คำชี้แจงเรื่องแบบทดสอบ สำหรับผู้ที่ทำแบบทดสอบครูแนะนำให้เขียนลงในสมุดหรือสั่งพิมพ์ออกมา แล้วทำให้เสร็จก่อนดูเฉลยนะคะ กิจกรรมทดสอบ      เรื่องทวีปเอเชีย    ศูนย์การเรียนที่ 4    เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตอนที่  1        ให้นักเรียนระบุชื่อประเทศ  เมืองหลวง   อาชีพ  ศาสนาประจำชาติ                      ระบอบการปกครอง   ให้ตรงกับหมายเลขที่กำกับในแผนที่

 ประเทศ
เมืองหลวง
อาชีพหลัก
ศาสนา
การปกครอง
1.




2.




3.




4.




5.




6.




7.




8.




9.




10.





ตอนที่ 2   เติมข้อความลงในตารางให้ถูกต้อง
1.   เอเชีย    มีพิกัดภูมิศาสตร์  ตรงกับ    ละติจูด……………..  ถึง   ละติจูด……………………….
      ลองติจูด……………….  ถึง  ลองติจูด………………… มีพื้นที่รวม …..…........…. ตารางกิโลเมตร
2.      เอเชียตะวันออกเฉียงใต้  มีลักษณะภูมิประเทศโดยภาพรวม ประกอบด้วย……………………
…………………………………………………………………………………………………
…………………………..
3.      เอเชียตะวันออกเฉียงใต้   มีอาณาเขตติดต่อดังนี้ คือ
ทิศเหนือ   ติดต่อกับ    ……………………..ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ    …………………………
ทิศใต้       ติดต่อกับ    ……………………...ทิศตะวันตก   ติดต่อกับ    ………………………… 
4.      โดยภาพรวมภูมิอากาศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีลักษณะ…………………….........……… ……………………………..…………………………………………………………………...........
………………………………………………………………………………………......................
5.      ประเทศส่วนใหญ่เศรษฐกิจขึ้นอยู่กับอาชีพ………………………………………………..
ยกเว้น
……………………………….
เพราะ…………………………………………………………
………………………...................................………………………………………

.